การประเมินไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินในการค้ำประกันเงินกู้จากสถาบันการเงิน
เพื่อให้เกิดความเข้าใจของสถาบันการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางคณะกรรมการสหกรณ์สวนป่าภาคเอกชน จำกัด รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกผู้ปลูกต้นไม้ยืนต้นทั่วประเทศไทยทั้ง 5 ภูมิภาคซึ่งมีสมาชิกปลูกไม้ยืนต้นจำนวน 200,058 คนของวิสาหกิจชุมชนชมรมไม้กฤษณา(ไม้หอม)แห่งประเทศไทย มีความคิดเห็นตรงกันว่าควรจัดคัดแยกชนิดของไม้ออกได้เป็น 8 กลุ่มหลัก ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่1
การคัดแยกชนิดไม้ ตามมูลค่าของต้นไม้ในทางการค้าในปัจจุบัน และสามารถส่งออกได้สะดวก
เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก
หรือต้นไม้ที่อยู่ในข้อตกลงของอนุสัญญาไซเตส ขึ้นบัญชีเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์บัญชี2
สามารถเพาะปลูกในแปลงพื้นที่ดินกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง
โดยการดูแลรักษาทุกขั้นตอนโดยมนุษย์ สามารถทำเป็นการค้าผลิตและส่งออกไปขายได้ทั่วโลกอย่างถูกต้องตามกฏหมายของพระราชบัญญัติพันธุ์พืช
พ.ศ.2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช(ฉบับที่2)พ.ศ.2535
และฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 ตามอนุสัญญาไซเตส และตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่องพืชอนุรักษ์ พ.ศ.2557 เล่ม 131 ตอนพิเศษ 231 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน
2557 ซึ่งมีผลทำให้ ต้นไม้ที่มีค่าสูงสุด ได้แก่
1.1. ไม้กฤษณา
หรือไม้ในสกุล Aquilaria ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หน้า 7 เล่ม 131 ตอนพิเศษ 231 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2557 ลำดับที่ 81พิกัดอัตราศุลการ
3301.29.90,1211.90.99 ฯลฯ ซึ่งมีผลทำให้ไม้กฤษณา
เป็นไม้ที่มีราคาสูงที่สุดของไม้ทั้งหมด ผลิตภัณฑ์จากไม้กฤษณา
เป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมากโดยเฉพาะแถบตะวันออกกลาง จีน ยุโรป อเมริกา ฯลฯ
และสามารถส่งออกไปขายได้ทั่วโลก
1.2. ไม้พะยูง
Dalbergia
cochinchinensis Pierre ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน้า 17 เล่ม 131
ตอนพิเศษ 231 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน ลำดับที่ 17พิกัดอัตราศุลการกร
ไม้ท่อน ไม้แปรรูป 4403.10.10-4421.90.99(ตามรายละเอียดเอกสารแนบท้าย)
ซึ่งมีผลทำให้ไม้พะยูงเป็นไม้ที่มีราคาสูงรองจากไม้กฤษณา ส่วนมากเป็นที่ต้องการของตลาดจีน
ปัจจุบัน ไม้พยุงจัดอยู่ในพันธุ์พืชอนุรักษ์บัญชี2 สามารถส่งออกได้
แต่ปัจจุบันยังอยู่ในช่วงลงมติจากภาคประชาชน เพื่อจะได้ออกประกาศการขึ้นทะเบียนแปลงปลูกไม้พะยูง
ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.3. ไม้ชิงชัน
Dalbergia oliveri
Gamble ex Prain ถ้าเป็นไม้ท่อนไม้แปรรูป พิกัดอัตราศุลการกร 4403.10.10-4421.90.99 ซึ่งปัจจุบัน
ราคาเป็นรองจากไม้พะยูง ในต่างประเทศไม้ในสกุล Dalbergia ทุกชนิดจัดอยู่ในบัญชีพันธุ์พืชอนุรักษ์บัญชี2 แต่สำหรับประเทศไทยอยู่ในระหว่างรอประกาศจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และมีอนาคตการตลาดที่ดี
1.4. ไม้กระซิก
Dalbergia parviflora Roxb.ถ้าเป็นไม้ท่อนไม้แปรรูป พิกัดอัตราศุลการกร
4403.10.10-4421.90.99 ซึ่งปัจจุบัน ราคาเป็นรองจากไม้พะยูง
ในต่างประเทศไม้ในสกุล Dalbergia
ทุกชนิดจัดอยู่ในบัญชีพันธุ์พืชอนุรักษ์บัญชี2
แต่สำหรับประเทศไทยอยู่ในระหว่างรอประกาศจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และมีอนาคตการตลาดที่ดี
1.5. ไม้กระพี้เขาควาย Dalbergia cultrate Graham ex Benth ถ้าเป็นไม้ท่อนไม้แปรรูป พิกัดอัตราศุลการกร
4403.10.10-4421.90.99 ซึ่งปัจจุบัน ราคาเป็นรองจากไม้พะยูง
ในต่างประเทศไม้ในสกุล Dalbergia
ทุกชนิดจัดอยู่ในบัญชีพันธุ์พืชอนุรักษ์บัญชี2
แต่สำหรับประเทศไทยอยู่ในระหว่างรอประกาศจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และมีอนาคตการตลาดที่ดี
1.6. ไม้ประดู่ลาย Dalbergia
sissoo Roxb.
เป็นไม้ที่มีราคาพอๆกับไม้พะยูง
แต่ค่อนข้างหายากกว่าไม้พะยูง ระบบการค้าจะเหมือนกับไม้พะยูง
1.7. ไม้สาธร Milllettia leacantha Kurz var.buteoides(Gagnep.) I.C
Nielsen
เป็นไม้ที่มีราคาใกล้เคียงกับไม้พะยูง แต่ปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์
หรือมีอยู่น้อยมากในประเทศไทย ตอนนี้
กลุ่มที่ 2 คัดแยกตามชนิดไม้
ที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง แต่ปัจจุบันยังส่งออกไปต่างประเทศไม่ได้
แต่สามารถค้าขายภายในประเทศได้ ตามพระราชบัญญัติสวนป่า
พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2558 เช่น
2.1. ไม้สัก
Tectona grandis
Lf.
2.2. ไม้ประดู่ป่า
Pterocarpus macrocarpus
Kurz
2.3. ไม้มะค่าโมง
Afzelia xylocarpa (Kurz)
Craib
2.4. ไม้กันเกรา Fograea fragroans Roxb
2.5. ไม้หลุมพอ Intsia palembanica Miq
2.6.
ไม้ตะเคียนชันตาแมว Neobalanocarpus heimii(King)P.S. Ashton
2.7.
ไม้ตะเคียนหิน Hopea
ferrea Laness
2.8.
ไม้เคี่ยม Cotylelobium lanceolatum Craib.
2.9.
ไม้ตะแบก Lagerstroemia Horibunda Jack
2.10.
ไม้ตะแบกลาย
2.11.
ไม้กระบก Irvingia malayana Oliv.ex.A.W.Benn.
กลุ่มที่ 3 คัดแยกตามชนิดไม้ ที่มีมูลค่าปานกลาง แต่ปัจจุบันยังส่งออกไปต่างประเทศไม่ได้แต่สามารถค้าขายภายในประเทศไทยได้
ตามพระราชบัญญัติสวนป่า
พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2558 เช่น
3.1.
ไม้มะหาด Artocarpus lacucha Roxb.ex Buch.-Ham.
3.2.
ไม้ตะเคียนทอง Hopea odorata Roxb.
3.3.
ไม้แดง Xylia xylocarpa (Roxb)W.Theob var.kerrii(Craib&Hutch) I.C.Nielsen
3.4. ไม้ประดู่บ้าน Pterocarpus indicus Willd.
3.5. ไม้ยมหอม Toona ciliate M.Roem
3.6.
ไม้ยมหิน Chukrasia tabularis A.Juss
3.7. ไม้นนทรี Peltophorum pterocarpum(DC) Backer ex K.Heyne
3.8. ไม้พฤกษ์ Albizia lebbeck (L) Benth.
3.9. ไม้เคี่ยมคะนอง Shorea henryana Pierre
3.10 ไม้มะค่าแต้ Sindora siamensis Teijsm.ex Miq.var.siamensis
3.11 ไม้พะยอม Shorea roxburghii G.Don
3.12 ไม้สกุลยาง Dipterocarpus spp.
3.13 ไม้เต็ง Shorea obtuse Wall.ex Blume
3.14 ไม้รัง Shorea siamensis Miq.
3.15 ไม้ตะแบกเลือด Terminalia mucronate Craib&Hutch.
3.16 ไม้นากบุด Mesua nervosa Planch&Triana.
3.17 ไม้เทพทาโร Cinnamomum parthenoxylon(Jack)Meisn.
3.18 ไม้จำปี
– จำปา Magnolia spp.
แต่ปัจจุบันยังส่งออกไปต่างประเทศไม่ได้แต่สามารถค้าขายภายในประเทศไทยได้
ตามพระราชบัญญัติสวนป่า
พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2558 ได้แก่
4.1. ไม้สะเดา Azadirachta indica A.Juss
4.2. ไม้สะเดาเทียม Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs
4.3. ไม้ตะกู Neolamarckia cadamba (Roxb.) Bosser
4.4. ไม้จามจุรี Albizia saman(Jacq.)Merr.
4.5. ไม้สัตบรรณ Alstonia scholaris (L.)R.Br.
4.6. ไม้ตีนเป็ดทะเล Cerbera odollam Gaertn.
4.7. ไม้พลับพลา Microcos tomentosa Sm.
4.8. ไม้กระทังใบใหญ่ Litsea grandis (Nees) Hook.F.
4.9. ไม้ฝาง Caesalpinia sappan L.
4.10. ไม้สกุลมะม่วง Mangifera spp.
4.11. ไม้สกุลทุเรียน Durio spp.
4.12. ไม้มะขาม Tamarindus indica l.
4.13. ไม้มะขามป้อม Phyllanthus emblica L.
กลุ่มที่ 5 คัดแยกตามชนิดไม้ ที่จัดอยู่ในไม้ประดับ จัดสวน ตบแต่งสถานที่
ปรับภูมิทัศน์ ฯลฯ
5.1. ไม้ปีบ Millingtonia
hortensis L.f.
5.2. ไม้นางพญาเสือโคร่ง Prunus cerasoides D.Don
5.3. ไม้กัลพฤกษ์ Cassia bakeriana Craib
5.4. ไม้ราชพฤกษ์ Cassia fistula L.
5.5. ไม้สุพรรณิการ์ Cochlospermum regium (Schrank) Pilg.
5.6. ไม้เหลืองปรีดียาธร Roseodendron
donnell-smithii(Rose)Miranda
5.7. ไม้หว้า Syzygium cumini(L.) Skeels
5.8. ไม้แคนา Dolichandrone serrulate (Wall.ex DC.) Seem.
5.9. ไม้ตะแบกนา Lagerstroemia loudonii Teijsm.&Pers. (ใช้เนื้อไม้ได้แต่ใช้จัดสวนราคาจะดีกว่า)
5.10 ไม้เสลา Lagerstroemia loudonii Teijsm.&Binn. (ใช้เนื้อไม้ได้แต่ใช้จัดสวนราคาจะดีกว่า)
5.11 ไม้อินทนิลน้ำ Lagerstroemia speciose(L.)Pers.(ใช้เนื้อไม้ได้แต่ใช้จัดสวนราคาจะดีกว่า)
กลุ่มที่ 6 ไม้ที่ใช้เป็นพลังงานทดแทน,พลังงานใช้ฟ้าหรือใช้ในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษเช่น
6.1.
ไม้ยูคา
6.2.
ไม้กระถินเทพา
6.3.
ไม้กระถินณรงค์ลูกผสม
6.4.
ไม้กระถินยักษ์
กลุ่มที่ 7 ไม้อื่นๆที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
กลุ่มที่ 8 ไผ่ทุกชนิด
หมายเหตุ ต้นไม้บางชนิด
มีชื่อในทางการค้าเหมือนกัน ก็จะใช้เป็นชื่อกลาง และชื่อพฤกษศาสตร์ เป็นหลัก
การคำนวนมูลค่าไม้ยืนต้น ตามประเภทที่ได้คัดแยกแล้ว
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มไม้ที่คุณค่าสูง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในปัจจุบันและอนาคต
1. ไม้กฤษณา ปัจจุบันจัดว่าเป็นไม้ที่มีคุณค่ามากที่สุดของประเทศไทยและของทั่วโลก และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าแถบตะวันออกกลาง,จีน,ยุโรปฯลฯ
มีมูลค่าการซื้อขายปัจจุบันประมาณห้าแสนล้านบาทและจะเพิ่มขึ้นทุกปี
ซึ่งการค้าส่วนมากจะเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้กฤษณา เช่นน้ำมันกฤษณา,ไม้แก่นกฤษณา,น้ำหอมกฤษณา,น้ำกฤษณากลั่น,ชาเขียวกฤษณา,ฯลฯ
ปัจจุบัน ตามประกาศไม้ในบัญชี 58 ชนิด มีไม้กฤษณาอยู่ในสกุล Aquilaria คือ
1.
ไม้กฤษณา Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte ซึ่งเป็นไม้กฤษณา ชนิดสายพันธุ์
ที่ใช้ปลูกเพื่อเป็นการค้าในปัจจุบัน ซึ่งในประเทศไทยมีรายละเอียดอยู่ 3
ชนิดสายพันธุ์ย่อย แต่ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นพันธุ์ไม้กฤษณา
ที่ดีที่สุดในโลกคือพันธุ์จังหวัดตราด Aquilaria crassna var.Trat เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีที่สุด สูงที่สุด
และราคาดีที่สุดในโลก จึงเป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด
และมีปริมาณมากที่สุดในประเทศไทย จึงถือว่าเป็นไม้กฤษณา ที่มีราคาสูงที่สุดในโลก
2.
ไม้หอม Aquilaria malaccensis Lam. หรือไม้กฤษณาพันธุ์ malaccensis นั่นเอง อาจจะเพราะความไม่รู้ของนักพฤกศาตร์
ทำให้แยกออกมาเป็น 2 ชนิด ไม้หอมสายพันธุ์นี้ปัจจุบันไม่นิยมปลูกเพื่อเป็นการค้า
เพราะคุณภาพของผลผลิตต่ำมากไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและระยะเวลาที่ปลูก
ส่วนมากเป็นไม้พื้นถิ่นเดิมทางแถบจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยที่มีดินแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย
ปัจจุบันส่วนมากจะมีอยู่เฉพาะในเขตป่าสงวนและป่าอุทยาน
ฉนั้นจึงเห็นสมควรให้ทำประเมินราคาต้นไม้ยืนต้นเฉพาะข้อ
1.1.ตามรายละเอียด โดยมีหลักและสูตรการคำนวนตาม อายุของต้นไม้ ขนาดความโต
ก่อนทำการกระตุ้นให้เกิดน้ำมัน เกิดแก่นไม้กฤษณา ที่สำคัญที่สุดก็คือไม้กฤษณา
ที่จะนำมาประเมินเป็นสินทรัพย์ได้นั้นต้องมีการขึ้นทะเบียนกับไซเตส
กรมวิชาการเกษตร และได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้วถูกต้องทุกประการตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
หลักการณ์และเหตุผลที่ใช้ในระบบการคำนวนราคาของต้นไม้กฤษณายืนต้นคือการใช้สูตร
มาตราฐานในการคำนวน ต้นไม้ยืนต้นดังนี้
1.
การวัดความโตของต้นไม้ ให้วัดความสูงจากพื้นดินขึ้นมาระยะ 130 ซม.แล้ววัดเส้นรอบวงต้นไม้
เรียกว่า “ความโต”
2. การวัดความสูงของต้นไม้ ให้วัดความสูงจากพื้นดินไปจนถึง 4 ใน 5 ส่วนของต้นไม้ หรือวัดถึงเรือนยอดของต้นไม้แล้วลบ
ออก 20% เรียกว่า “ความสูง”
3.
การใช้สูตรคำนวนปริมาตรไม้ยืนต้นคือสูตร โตxโตxสูงx7.96/1,000,000 = ลบ.เมตร
4.
ราคาประเมินของต้นไม้กฤษณา
4.1.
ไม้กฤษณาอายุ 7-10 ปี ที่ยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดน้ำมันกฤษณา,ไม้แก่นกฤษณา ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 10,000 บาท
หลังจากกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 30,000 - 35,000 บาท ตามระยะเวลาของการกระตุ้น
4.2.
ไม้กฤษณาอายุ 11-15 ปี ที่ยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดแก่นเกิดน้ำมันกฤษณา
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 12,000 บาท
หลังจากกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 36,000 - 41,000 บาท ตามระยะเวลาของการกระตุ้น
4.3.
ไม้กฤษณา อายุ 16-20 ปี ที่ยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่นกฤษณา
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 15,000 บาท
หลังจากกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ45,000 - 50,000 บาท ตามระยะเวลาของการกระตุ้น
4.4.
ไม้กฤษณา อายุ 21-25 ปี
ที่ยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่นราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 20,000 บาท
หลังจากกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ60,000 -65,000 บาท ตามระยะเวลาของการกระตุ้น
4.5.
ไม้กฤษณา อายุ 26-30 ปี
ที่ยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่นราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 25,000 บาท
หลังจากกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 75,000 – 80,000 บาท ถ้ามีการกระตุ้น ตั้งแต่
10 ปีขึ้นไป ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 125,000 – 145,000 บาท
4.6.
ไม้กฤษณา อายุ 31-35 ปี ที่ยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 30,000 บาท
หลังจากกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 90,000- 95,000 บาท ถ้ามีการกระตุ้น ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ราคาประเมิน
ลบ.เมตรละ 150,000 – 170,000 บาท
4.7.
ไม้กฤษณา อายุ 36-40 ปี ที่ยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ35,000 บาท
หลังจากกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ105,000-110,000 บาท ถ้ามีการกระตุ้น ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ราคาประเมิน
ลบ.เมตรละ 175,000– 195,000 บาท
4.8.
ไม้กฤษณา อายุ 41-45 ปี ที่ยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่นราคาประเมิน
ลบ.เมตรละ 40,000 บาท
หลังจากกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น
ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ120,000-125,000 บาท ถ้ามีการกระตุ้น ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ราคาประเมิน
ลบ.เมตรละ 200,000 – 220,000 บาท
4.9.
ไม้กฤษณา อายุ 46-50 ปี
ที่ยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่นราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 45,000 บาท
หลังจากกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น ราคาประเมิน
ลบ.เมตรละ135,000 – 140,000 บาท ถ้ามีการกระตุ้น ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 225,000 – 245,000 บาท
4.10
ไม้กฤษณา อายุ 50 ปี ขึ้นไป
ที่ยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่นราคาประเมิน ลบ.เมตรละ 50,000 บาท
หลังจากกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่น ราคาประเมิน
ลบ.เมตรละ150,000 – 170,000 บาท ถ้ามีการกระตุ้น ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ราคาประเมิน
ลบ.เมตรละ 250,000 – 270,000 บาท
หมายเหตุ ต้นไม้กฤษณาที่มีอายุมากๆบางต้นที่ลงแก่นแบบธรรมชาติ อาจจะมีราคาต้นละหลายล้านบาท
ตามสภาพของต้นไม้แต่ละต้น
หมายเหตุ การประเมินมูลค่าของต้นไม้กฤษณา
เมื่อได้ปริมาตรไม้ของแต่ละต้นแล้ว ก็เอาปริมาตรไม้คูณด้วย
ราคาประเมินของแต่ละระยะของต้นไม้ ตามข้อ 4.1-4.10
ก็จะได้มูลค่าที่แท้จริงของต้นไม้กฤษณาแต่ละต้น หรือทำเป็นระบบ excel
แล้วใส่สูตรคำนวน
ก็จะสามารถตรวจสอบได้อย่างง่าย
หลักเกณฑ์และที่มาในการใช้สูตรคือ
1.
ไม้กฤษณา ที่ปลูกขึ้นถ้ามีอายุครบ 7
ปีขึ้นก็จะสามารถกระตุ้นให้เกิดน้ำมันเกิดแก่นได้ หลังจากกระตุ้นประมาณ 18 เดือน
ก็สามารถเก็บผลผลิตโดยการดูดส่วนที่เกิดน้ำมัน นำไปกลั่นน้ำมันกฤษณาได้
และสามารถเก็บผลผลิตทุกๆ6 เดือนโดยไม่ต้องตัดต้นไม้ตลอดไป
2.
ชิ้นส่วนของไม้กฤษณา ที่ดูดออกมา แต่ละครั้งจะได้ปริมาณ
โดยใช้สูตรคำนวนหาปริมาตรไม้ แล้วคูณด้วย 600 จะได้น้ำหนักของต้นไม้
หลังจากนั้นก็คูณด้วย 5% ก็จะได้น้ำหนัก ของเนื้อไม้ที่เกิดน้ำมัน ที่ดูดออกมา
3.
ถ้าไม้กฤษณามีอายุตั้งแต่ 7-20 ปี การคำนวนน้ำหนักของต้นไม้กฤษณา จะคูณด้วย
600 เพราะไม้กฤษณา อายุ 7-20 ปี ปริมาตร 1 ลบ.เมตรจะมีน้ำหนักประมาณ 600 กก.
4.
ถ้าไม้กฤษณามีอายุตั้งแต่ 21-30 ปี การคำนวนน้ำหนักของต้นไม้กฤษณา
จะต้องคูณด้วย 700 เพราะไม้กฤษณา อายุ 21-30 ปี ปริมาตร 1 ลบ.เมตร จะมีน้ำหนักประมาณ
700 กก.
5.
ถ้าไม้กฤษณามีอายุตั้งแต่ 31 ปี ขึ้นไป การคำนวนน้ำหนักของต้นไม้กฤษณา
จะต้องคูณด้วย 800 เพราะไม้กฤษณา อายุ 31 ปีขึ้นไป ปริมาตร 1 ลบ.เมตร
จะมีน้ำหนักประมาณ 800 กก.
6.
การคำนวน ปริมาณไม้แก่นในส่วนต่างๆของลำต้น
หลังจากกระตุ้นให้เกิดแก่นแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ดีที่สุดคือตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
คำนวนโดยเอาปริมาตรไม้ คูณด้วยน้ำหนักตามอายุของไม้ แล้วคูณขั้นต่ำสุดคือ 5%
ก็จะได้ปริมาตรของไม้แก่นขั้นต่ำสุด
7.
การคำนวน ราคาของไม้แก่น
7.1.
ราคาไม้แก่นหลังกระตุ้นให้เกิดแก่น ระยะ 5 -9 ปี ราคาส่งออก กก.ละ 30,000 – 50,000 บาท
7.2. ราคาไม้แก่นหลังกระตุ้นให้เกิดแก่น ระยะ 10 ปี ขึ้นไป ราคาส่งออก กก.ละ 80,000 – 500,000 บาท ตาม
สภาพของเนื้อไม้แก่น
8.
การคำนวน ปริมาณน้ำมัน และราคาส่งออกของน้ำมันกฤษณา ในปัจจุบัน
8.1.
ไม้ที่ดูดออกมาในระบบการเก็บผลผลิตทุก 6 เดือน ปริมาณไม้สดจำนวน 20
กก.ตากแห้งแล้วจะเหลืออยู่ 15 กก. สามารถผลิตน้ำมันได้ประมาณ 60-120 กรัม
ราคาส่งออกอยู่ที่ กรัมละประมาณ 500-750 บาท
8.2.
ชิ้นไม้ที่ได้จากการแทงไม้แก่น ตอนที่ผลิตไม้แก่น ปริมาณที่ตากแห้งแล้ว
จำนวน 15 กก. สามารถผลิตน้ำมันกฤษณา เกรดพรีเมี่ยมได้ ประมาณ 100 – 140 กรัม
ราคาส่งออกอยู่ที่ กรัมละประมาณ 1,000 -2,900 บาท และเป็นเกรดน้ำมันที่ตลาดโลกต้องการเป็นอย่างมาก
และราคาแพงกว่าทองคำ(ตามเอกสารการส่งออกที่แนบท้ายนี้)
หมายเหตุ
การคำนวนโดยการใช้สูตรดังที่กล่าวมานั้น มีความแม่นยำประมาณ 98%
ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงฤดูกาลเป็นหลักด้วย
เช่นฤดูฝน น้ำหนักต้นไม้อาจะเพิ่ม
ฉนั้นหลังจากตัดกิ่งแล้วต้องตั้งพึ่งลมให้เนื้อไม้หมาดๆแล้วน้ำไหลออกให้เกือบหมด
ถึงจะได้มาตราฐานตามสูตร